ศึกษารูปแบบการพัฒนาศักยภาพแหล่งศึกษาเรียนรู้ทางธรรมชาติเชิงสัตว์ป่าอย่างยั่งยืน
1) สำรวจพื้นที่ทั้งทางกายภาพ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สภาพการใช้ประโยชน์ เศรษฐกิจและสังคม
การสำรวจความโดดเด่นเพื่อจัดพื้นที่ดำเนินการ
ข้อมูลพื้นฐานของพื้นที่โครงการและพื้นที่โดยรอบ ได้ดำเนินการสำรวจภาคสนามเมื่อวันที่ 17-18, 30 พฤศจิกายน และ1-2 ธันวาคม 2560 โดยมีรายละเอียดดังนี้
(1) เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าซับลังกาที่ทำการตั้งอยู่หมู่ที่ 7 (บ้านวังเชื่อม) ตำบลกุดตาเพชร อำเภอลำสนธิจังหวัดลพบุรี
(2) แหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญภายในพื้นที่ศึกษา แบ่งเป็น 3 พื้นที่หลัก ได้แก่
(2.1) แหล่งท่องเที่ยวตอนล่างของพื้นที่ศึกษาเป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพเพื่อรองรับการท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติ ประกอบด้วย อ่างเก็บน้ำห้วยประดู่ ถ้ำพระนอก และถ้ำสมุยกุย เดินทางทิศใต้

(2.2) แหล่งท่องเที่ยวตอนกลางของพื้นที่ศึกษาเป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพเพื่อรองรับการท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติ สัตว์ป่า ประกอบด้วย ถ้ำทะลุมิติ (ชื่อสมมติเนื่องจากยังไม่มีชื่อ) จุดชมวิวผาไม้แก้ว ผาผึ้ง น้ำตกผาผึ้ง จุดชมวิวผาแดง ซับหวาย ผาน้ำย้อย ผาสุดแผ่นดิน มีเส้นทาง 4 เส้นทาง ดังนี้ • เส้นทางที่ 1 ที่ทำการเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าซับลังกาถึงผาไม้แก้ว • เส้นทางที่ 2 ที่ทำการเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าซับลังกา – จุดชมวิวผาเขากลาง • เส้นทางที่ 3 ที่ทำการเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าซับลังกา – ผาผึ้ง –ผาแดง • เส้นทางที่ 4 หน่วยพิทักษ์ป่าชั่วคราวซับหวาย – ผาน้ำย้อย

.jpg)


(2.3) แหล่งท่องเที่ยวตอนบนของพื้นที่ศึกษาเป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพเพื่อรองรับการท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติ สัตว์ป่า ประกอบด้วย น้ำตกสามสาย และจุดชมวิวต้นน้ำ

การสำรวจความโดดเด่นด้านลักษณะทางธรณีวิทยา อุทกวิทยาและภูมิลักษณ์ แบ่งเป็น 3 โซนหลัก ได้แก่
(1) พื้นที่เขตหินปูนยุคเพอร์เมียน (250 ล้านปี) ได้แก่ พื้นด้านตะวันตกบริเวณแนวเขารวก วางตัวแนวเหนือ-ใต้ มีหินปูนซึ่งเป็นตะกอนทะเลเป็นหลัก สร้างภูมิประเทศแบบหน้าผาและถ้ำที่สวยงาม มีหินดินดานแทรกสลับชั้นบางส่วน ตั้งอยู่บนแผ่นอนุทวีปชานไทย ที่เป็นที่พื้นที่ภาคกลางในปัจจุบัน
(2) พื้นที่หินทรายยุคจูแรสซิก (150 ล้านปี) หินทรายยุคจูแรสซิก (อายุประมาณ 150 ล้านปี) ได้แก่ เทือกเขาพังเหย ซึ่งเป็นขอบด้านทิศตะวันออกของพื้นที่ศึกษา วางตัวแนวเหนือ-ใต้ ประกอบด้วยหินทรายที่พบได้โดยทั่วไปในภาคอีสาน ตั้งอยู่บนแผ่นอนุทวีปอินโดจีน ที่เป็นที่พื้นที่ภาคอีสานในปัจจุบัน ยกตัวขึ้นหลังจากการเคลื่อนที่เข้าชนโดยอนุทวีป ฉาน-ไทย สร้างหน้าผาสูงชันลาดเทไปทางทิศตะวันออก (ลำน้ำไหลจากทิศตะวันตกไปทิศตะวันออก)
(3) พื้นที่หินอัคนียุคครีเทเชียส (65 ล้านปี) ได้แก่ พื้นที่ตอนกลางของพื้นที่ศึกษา ประกอบด้วย หินกรวดเหลี่ยมภูเขาไฟเป็นส่วนใหญ่ แทรกสลับเป็นเนินเตี้ยๆ มีลักษณะชัน วางตัวแนวเหนือ-ใต้ แทรกตัวตามรอยแตกของเปลือกโลกหลังการชนกันของอนุทวีปฉานไทยกับอินโดจีน บริเวณที่พบได้แก่ ผากลาง (ผารับตะวัน) เขาหินลาว เป็นต้น
ภูมิประเทศโดดเด่น การชนกันของแผ่นเปลือกโลกย่อยเก่ากับแผ่นเปลือกโลกย่อยใหม่ ก่อให้เกิดลักษณะภูมิประเทศที่โดดเด่น และลักษณะทางธรณีวิทยาที่แตกต่างกันมาก อีกทั้งการเกิดหินธารลาวาภูเขาไฟแทรกระหว่างกลาง ทำให้เกิดภูมิประเทศโดดเด่น 3 รูปแบบ คือ



การสำรวจทรัพยากรป่าไม้ และสัตว์ป่า
ทรัพยากรป่าไม้ ในการศึกษาด้านป่าไม้ ทำการศึกษาใน 2 มิติ คือ มิติด้านความหลากหลายของชนิดพรรณไม้ โดยการเดินสำรวจตามแนวสำรวจที่กำหนดไว้ และมิติด้านนิเวศวิทยาป่าไม้ โดยการวางแปลงสำรวจปริมาณพรรณไม้ในป่าแต่ละประเภท ได้ดำเนินการสำรวจในช่วงวันที่ 20-24 ธันวาคม 2560

ทรัพยากรสัตว์ป่า ประกอบไปด้วยชนิดสัตว์ป่าที่อาศัยอยู่ตามธรรมชาติในพื้นที่โดยรอบโครงการ ซึ่งประกอบด้วยสัตว์ป่า 4 กลุ่มที่สำคัญ ได้แก่ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์จำพวกนก สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก และ สัตว์เลื้อยคลาน ทั้งยังรวมไปถึงการศึกษาถิ่นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่า พืชอาหารของสัตว์ป่า และลักษณะสภาพแวดล้อมบางสภาพที่เอื้ออำนวยต่อการดำรงชีวิตของสัตว์ป่า ตลอดจนข้อมูลที่บ่งชี้ความสำคัญของสัตว์บางชนิดในด้านนิเวศ และในด้านการเป็นแหล่งอนุรักษ์พันธุกรรมสัตว์ในพื้นที่ศึกษา พร้อมทั้งระบุตำแหน่งโดยใช้อุปกรณ์บันทึกพิกัด (GPS) ได้ดำเนินการสำรวจในช่วงวันที่ 20-24 ธันวาคม 2560

2) แนวคิดการบริหารจัดการ ประกอบด้วย 5 ส่วนคือ
2.1) การท่องเที่ยวในเขตอุทยานแห่งชาติทั่วไป
- การเรียนรู้ธรรมชาติ
- การพักฟื้นผืนป่า
- การค้างแรมในพื้นที่
- โฮมสเตย์
- ยุวมัคคุเทศก์
2.2) ระบบนิเวศลุ่มน้ำป่าสัก
- ระบบนิเวศแหล่งน้ำ
- สถานภาพลุ่มน้ำ
2.3) ระบบนิเวศเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าซับลังกา
2.4) ชุมชนเขตกันชน 3 กม. รอบเขตซับลังกา
- การสำรวจทัศนคติ
- การประเมินสถานภาพความอ่อนไหว (Sensitive) ต่อการเปลี่ยนแปลง
- การมีส่วนร่วมคิดร่วมทำของชุมชน
2.5) การผนวกผืนป่า/การเชื่อมโยงแหล่งท่องเที่ยว
3) กำหนดแนวทางการพัฒนาแหล่งศึกษาเรียนรู้และแหล่งท่องเที่ยวในรูปแบบทางธรรมชาติอย่างยั่งยืนที่เหมาะสม
โดยศึกษามาตรฐานการท่องเที่ยวแหล่งเรียนรู้ธรรมชาติเชิงสัตว์ป่าซับลังกา เป็นแบบอย่างสำหรับหน่วยงาน องค์กร สถาบัน และผู้ที่เกี่ยวข้องในการเรียนรู้เกี่ยวกับการประกอบกิจกรรมการเดินป่า และสร้างความเข้าใจทรัพยากรการท่องเที่ยวตามธรรมชาติของแหล่งท่องเที่ยว โดยมีวัตถุประสงเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน และไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สำนักงานพัฒนาการท่องเที่ยว (สพท.))
- มาตรฐานการกิจกรรมการเดินป่า
- มาตรฐานกิจกรรมดูพรรณไม้
- มาตรฐานกิจกรรมส่องสัตว์